แนะนำหนังสือ "ปุ๋ยไทย จะไปนอก"


คุณรู้อะไรเกี่ยวกับ.......ปุ๋ยบ้าง??


....><  ทุกๆคน ก็คงจะมีความสนใจในการที่จะเล่าเรื่อง และอยากจะเขียนเรื่องที่ตนเองสนใจ มาบอกกล่าวและเล่าสู่กันฟัง สำหรับผมเองก็มีความสนใจในเรื่องๆหนึ่งที่มีความสำคัญ นั่นก็คือ เรื่องของปุ๋ย  ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ปุ๋ยมีความสำคัญอย่างไร....  แต่พอได้ทราบและได้อ่านข้อมูลก็รู้ว่าปุ๋ยนั่นมีประโยชน์มากมาย และปุ๋ยของไทยเรา ก็มีความพัฒนาที่จะก้าวและออกเผยแพร่สู่ต่างประเทศได้   ทุกๆคนก็คงอยากจะรู้แล้วนะครับว่า  เราไปศึกษากันเลยครับบบบบบ



ปุ๋ย คือ อะไร ? ช่วยบอกที
          เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากในทางเกษตรแต่ก็ยังไม่ได้รับความสนใจหรือแพร่หลายเท่าที่ควร อาจจะเป็นเพราะสาเหตุหลายประการด้วยกัน เช่น เกษตรยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญที่แท้จริงของปุ๋ยมีคุณค่าเพียงใดในช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น การผลิตปุ๋ยต้องเข้าใจในคุณประโยชน์ที่แท้จริง ของปุ๋ยและต้องมีความมุ่งหวังว่า โครงงานจะช่วยให้เกษตรและผู้สนใจได้รับความรู้ความเข้าใจสามารถทำและใช้ปุ๋ยได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนาที่ดินของตนเองปัจจุบันนี้ คนส่วนใหญ่มักประกอบอาชีพหรือกิจการเกี่ยวกับการเกษตรเป็นส่วนมาก  บางคนก็มีความรู้ในเรื่องการเกษตรมาก บางคนก็พอรู้บ้าง แต่สิ่งที่สำคัญของการทำการเกษตรและใช้มากก็คือ ปุ๋ย ผมจึงทำการรวบรวมข้อมูล  ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของปุ๋ยว่า ปุ๋ยคืออะไร  มีกี่ชนิด  แล้วมีประโยชน์หรือโทษอย่างไร แล้วเราควรใช้ปุ๋ยแบบไหนที่จะเหมาะกับพืชผลที่เราปลูกอยู่  และในการทำการศึกษาครั้งนี้ คงเป็นประโยชน์ต่อบุคคลที่กำลังมองหาเอกสารหรือข้อมูลในเรื่องของปุ๋ย  มา มา มา เรามารู้จักปุ๋ยกันเลย ครับบบบบ
  
ความหมายของปุ๋ย
 ในพระราชบัญญัติให้ความหมายของปุ๋ยไว้ว่า     ปุ๋ย หมายความว่า สารอินทรีย์หรืออนินทรีย์ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือทำขึ้นก็ตาม สำหรับใช้เป็นธาตุอาหารแก่พืชได้ไม่ว่าโดยวิธีใด หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดินเพื่อบำรุงความเติบโตแก่พืช  โดยปุ๋ยสามารถแบ่งออกได้หลายๆอย่างตามความต้องการในการใช้สร้อยให้เหมาะสมกับพืช ทางพระราชบัญญัติได้ให้ความหมายไว้ ดังนี้
1.                  ปุ๋ยเคมี หมายความว่า ปุ๋ยที่ได้จากสารอนินทรีย์หรืออินทรีย์สังเคราะห์ รวมถึงปุ๋ยเชิงเดี่ยว ปุ๋ยเชิงผสมและปุ๋ยเชิงประกอบ และหมายความตลอดถึงปุ๋ยอินทรีย์ที่มีปุ๋ยเคมีผสมอยู่ด้วย แต่ไม่รวมถึงปูนขาว ดินมาร์ล ปูนพลาสเตอร์ หรือยิปซั่ม
2.                  ปุ๋ยอินทรีย์ หมายความว่า ปุ๋ยที่ได้จากอินทรีย์วัตถุซึ่งผลิตด้วยกรรมวิธีทำให้ชื้น สับ บด หมัก ร่อน หรือวิธีการอื่นแต่ไม่ใช่ปุ๋ยเคมี
3.                  ปุ๋ยเชิงเดี่ยว หมายความว่า ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุอาหารหลักธาตุเดียว ได้แก่ปุ๋ยไนโตรเจน ปุ๋ยฟอสเฟต หรือปุ๋ย โปแตช
4.                  ปุ๋ยเชิงผสม หมายความว่า ปุ๋ยเคมีที่ได้จากการผสมปุ๋ยเคมีชนิดหรือประเภทต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ธาตุอาหารตามต้องการ
5.                  ปุ๋ยเชิงประกอบ หมายความว่า ปุ๋ยเคมีที่ทำขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมีและมีธาตุอาหารหลักอย่างน้อยสองธาตุขึ้นไป
6.                  ธาตุอาหาร หมายความว่า ธาตุที่มีอยู่ในปุ๋ยและสามารถเป็นอาหารแก่พืชได้
7.                  ธาตุอาหารหลัก หมายความว่า ธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปตัสเซียม
8.                  ธาตุอาหารรอง หมายความว่า ธาตุอาหารมักเนเซียม คัลเซียม และกำมะถัน
9.                  ธาตุอาหารเสริม หมายความว่า ธาตุอาหารเหล็ก มังกานีส ทองแดง สังกะสี โบรอน โมลิบดินัม คลอรีน หรือธาตุอาหารอื่นที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
10.              ปริมาณธาตุอาหารรับรอง หมายความว่า ปริมาณขั้นต่ำของธาตุอาหารหลักที่ผู้ผลิตหรือผู้นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งปุ๋ยเคมีรับรองในฉลากว่ามีอยู่ในปุ๋ยเคมีที่ตนผลิต นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร แล้วแต่กรณี โดยคิดเป็นจำนวนร้อยละของน้ำหนักสุทธิของปุ๋ยเคมี
จากความหมายข้างบนตามที่พระราชบัญญํติไว้ มิใช่ว่าจะใช้คำว่าปุ๋ยแทนอาหารเสริมของปุ๋ยเพียงเท่านั้นแต่ยังใช้คำว่าอาหารเสริม ซึ่งก็ล้วนให้คุณค่าทางโภชนาการที่แตกต่างกันไป บางชนิดปุ๋ยก็จะให้ประโยชน์มากกว่าโทษ  บางชนิดให้โทษพอๆกับให้ประโยชน์ที่จะได้รับ  แต่เราเท่านั้นที่เป็นผู้กำหนดในการใช้ปุ๋ยให้เหมาะกับพืชผลของเราเอง  ว่าแต่ ปุ๋ย มีอะไรบ้าง อยากรู้เราก็ต้องมาอ่านข้อมูลต่อไปนี้ต่อเลยครับ…..
ประเภทของปุ๋ย
เราคงทราบกันดีนะครับว่า  ปุ๋ยมีหลายแบบหลายชนิด ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้ประโยชน์ โดยปุ๋ยที่เรามักใช้กันอยู่บ่อยๆๆส่วนมากก็ คือ


             ปุ๋ยอินทรีย์ คือ ปุ๋ยที่ได้จากการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุโดยจุลินทรีย์กลุ่มใช้ออกซิเจน (Aerobic Microorganisms) จนมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ขึ้ค้างคาว กระดูกป่น และเลือดแห้ง  พูดง่ายๆก็คือ ปุ๋ยที่ได้มาจากธรรมชาติที่ย่อยออกมาจากสิ่งมีชีวิตโดยนำมาปรับปรุง ใช้สูตรผสมอื่นๆมาใช้ประกอบ เพื่อให้ได้สูตรที่ดีขึ้น สูตรที่เหมาะสมกับพืชผลที่เราเพาะปลูก  เช่น

  1.1ปุ๋ยคอก
ที่สำคัญก็ได้แก่ ขี้หมู ขี้เป็ด ขี้ไก่ ฯลฯ เป็นปุ๋ยคอกที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในบรรดาสวนผักและสวนผลไม้ ปุ๋ยคอกโดยทั่วไปแล้วถ้าคิดราคาต่อหน่วยธาตุอาหารพืชจะมีราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมี แต่ปุ๋ยคอกช่วยปรับปรุงดินให้โปร่งและร่วนซุย ทำให้การเตรียมดินง่าย การตั้งตัวของต้นกล้าเร็วทำให้มีโอกาสรอดได้มาก นาข้าวที่เป็นดินทราย เช่น ดินภาคอีสาน การใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์อื่น ๆ เท่าที่จะหาได้ในบริเวณใกล้เคียง จะช่วยให้การดำนาง่าย ข้าวตั้งตัวได้ดี และเจริญเติบโตงอกงามอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เนื่องจากดินทรายพวกนี้มีอินทรียวัตถุต่ำมาก การใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์ลงไปจะทำให้ดินอุ้มน้ำและปุ๋ยได้ดีขึ้น การปักดำกล้าทำได้ง่ายขึ้น เพราะ หลังทำเทือกแล้วดินจะไม่อัดกันแน่น
ปุ๋ยคอกมีปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมค่อนข้างต่ำ โดยหยาบ ๆ แล้วก็จะมีไนโตรเจนประมาณ 0.5% N ฟอสฟอรัส 0.25% P2O5 และโพแทสเซียม 0.5% K2O
ปุ๋ยขี้ไก่และขี้เป็ด จะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าขี้หมู และขี้หมูจะปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าขี้วัว และขี้ควาย ปุ๋ยคอกใหม่ ๆ จะมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าปุ๋ยคอกที่เก่าและเก็บไว้นาน ทั้งนี้เนื่องจากส่วนของปุ๋ยที่ละลายได้ง่ายจะถูกชะล้างออกไปหมด บางส่วนก็กลายเป็นก๊าซสูญหายไปดังนั้นการเก็บรักษาปุ๋ยคอกอย่างระมัดระวังก่อนนำไปใช้ จะช่วยรักษาคุณค่าของปุ๋ยคอกไม่ให้เสื่อมคุณค่าอย่างรวดเร็ว
การเก็บรักษาปุ๋ยคอกอาจทำได้ เช่น นำมากองรวมกันเป็นรูปฝาชี แล้วอัดให้แน่ ถ้าอยู่ภายใต้หลังคาก็ยิ่งดี ถ้าอยู่กลางแจ้งควรหาจากหรือทางมะพร้าวคลุมไว้ด้วยก็จะดี ปุ๋ยคอกที่ได้มาใหม่ ๆ และยังสดอยู่ถ้าจะใส่ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตชนิดธรรมดา (20% P O ) ลงไปด้วยสักเล็กน้อยก็จะช่วยป้องกันไม่ให้มีการสูญเสียไนโตรเจนโดยการระเหิดกลายเป็นก๊าซได้เป็นอย่างดี ถ้าเลี้ยงสัตว์อยู่ในคอกควรใช้แกลบ ขี้เลื่อยหรือฟางข้าวรองพื้นคอกให้ดูดซับปุ๋ยไว้ เมื่อฟางข้าวอิ่มตัวด้วยปุ๋ยก็รองเพิ่มเป็นชั้น ๆ เมื่อสะสมไว้มากพอก็ลอกเอาไปกองเก็บไว้ อัตราปุ๋ยคอกที่ใช้นั้นไม่เคร่งครัดเหมือนกับปุ๋ยเคมี ปกติแนะนำให้ใส่อัตรา 1-4 ตันต่อไร่ โดยใส่ค่อนข้างมากในดินเหนียวจัดหรือดินทรายจัด หลังจากใส่ปุ๋ยคอกแล้วถ้ามีการไถหรือพรวนดินกลบลงไปในดิน ก็จะช่วยให้ปุ๋ยเป็นประโยชน์แก่พืชได้เร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

  1.2 ปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยพวกนี้ก็ได้แก่ปุ๋ยที่เราได้จากการหมักเศษพืช เช่น หญ้าแห้ง ใบไม้ ฟางข้าว ฯลฯ ให้เน่าเปื่อยเสียก่อน จึงนำไปใส่ในดินเป็นปุ๋ย ปุ๋ยเทศบาลที่บรรจุถุงขายในชื่อของปุ๋ยอินทรีย์เบอร์ต่าง ๆ นั้น ก็คือปุ๋ยหมัก ได้จากการนำขยะจากในเมือง พวกเศษพืช เศษอาหารเข้าโรงหมักเป็นขั้นเป็นตอนจนกลายเป็นปุ๋ย ปุ๋ยหมักสามารถทำเองได้โดยการกองสุมเศษพืชสูงขึ้นจากพื้นดิน 30-40 ซม. แล้วโรยปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ 15-15-15 ประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม ต่อเศษพืชหนัก 1,000 กิโลกรัม เสร็จแล้วก็กองเศษพืชซ้อนทับลงไปอีกแล้วโรยปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยเคมี ทำเช่นนี้เรื่อยไปเป็นชั้น ๆ จนสูงประมาณ 1.5 เมตร ควรมีการรดน้ำแต่ละชั้นเพื่อให้มีความชุ่มชื้น และเป็นการทำให้มีการเน่าเปื่อยได้เร็วขึ้น
กองปุ๋ยหมักนี้ทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์ ก็ทำการกลับกองปุ๋ยครั้งหนึ่ง ถ้ากองปุ๋ยแห้งเกินไปก็รดน้ำ ทำเช่นนี้ 3-4 ครั้ง เศษพืชก็จะเน่าเปื่อยเป็นอย่างดีและมีสภาพเป็นปุ๋ยหมัก นำไปใช้ใส่ดินเป็นปุ๋ยให้กับพืชที่ปลูกได้ เศษหญ้าและใบไม้ต่าง ๆ ถ้าเก็บรวบรวมกองสุมไว้แล้วทำเป็นปุ๋ยหมัก จะดีกว่าเผาทิ้งไป ปุ๋ยหมักจะช่วยปรับปรุงดินให้มีคุณสมบัติทางฟิสิกส์ดีขึ้นและปลูกพืชเจริญงอกงามดีเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะพืชผักสวนครัว และไม้ดอกไม้ประดับ

   1.2 ปุ๋ยพืชสด
เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการปลูกพืชบำรุงดินซึ่งได้แก่ พืชตระกูลถั่วต่าง ๆ แล้วทำการไถกลบเมื่อพืชเจริญเติบโตมากที่สุด ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังออกดอก พืชตระกูลถั่วที่ควรใช้เป็นปุ๋ยพืชสดควรมีอายุสั้น มีระบบรากลึก ทนแล้ง ทนโรคและแมลงได้ดี เป็นพืชที่ปลูกง่าย และมีเมล็ดมาก ตัวอย่างพืชเหล่านี้ก็ได้แก่ ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว ถั่วลาย ปอเทือง ถั่วขอ ถั่วแปบ และโสน เป็นต้น
              2. ปุ๋ยเคมี คือ ปุ๋ยที่ได้จากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น จากหิน เหมือนแร่ต่างๆ หรือ จากการสังเคราะห์ขึ้นทางวิทยาศาสตร์ เช่น ปุ๋ยยูเรีย แอมโมเนียมซัลเฟต หินฟอสเฟตบด ปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆปุ๋ยเคมีจะมีส่วนผสมของธาตุอาหารหลักของพืช (ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส หรือ โปแตสเซียม) ในปริมาณที่เข้มข้นมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์จึงทำให้ปุ๋ยเคมีได้รับความนิยมเนื่องจากสามารถใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าปุ๋ยอินทรีย์
2.1 ปุ๋ยเดี่ยวหรือแม่ปุ๋ย
ได้แก่ ปุ๋ยพวกแอมโมเนียมซัลเฟต โพแทสเซียมคลอไรด์ ฯลฯ ซึ่งเป็นสารประกอบทางเคมี มีธาตุอาหารปุ๋ยคือ N หรือ P หรือ K เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยหนึ่งหรือสองธาตุ แล้วแต่ชนิดของสารประกอบที่เป็นแม่ปุ๋ยนั้น ๆ มีปริมาณของธาตุอาหารปุ๋ยที่คงที่ เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต มีไนโตรเจน 20% N ส่วนโพแทสเซียมไนเทรต มีไนโตรเจน 13% N และโพแทสเซียม 46% K2O อยู่ร่วมกันสองธาตุ
   
2.2 ปุ๋ยผสม
   ได้แก่ ปุ๋ยที่มีการนำเอาแม่ปุ๋ยหลาย ๆ ชนิดมาผสมรวมกัน เพื่อให้ปุ๋ยที่ผสมได้ มีปริมาณและสัดส่วนของธาตุอาหาร N P และ K ตามที่ต้องการ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ปุ๋ยที่มีสูตรหรือเกรดปุ๋ยเหมาะที่จะใช้กับชนิดพืชและดินที่แตกต่างกัน ปุ๋ยผสมนี้จะมีขายอยู่ในท้องตลาดทั่วไปเพราะนิยมใช้กันมาก ปัจจุบันเทคโนโลยีในการทำปุ๋ยผสมได้พัฒนาไปไกลมาก สามารถผลิตปุ๋ยผสมให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ มีการปั้นเป็นเม็ดขนาดสม่ำเสมอสะดวกในการใส่ลงไปในไร่นา ปุ๋ยพวกนี้เก็บไว้นาน ๆ จะไม่จับกันเป็นก้อนแข็ง สะดวกแก่การใช้เป็นอย่างยิ่ง

ปุ๋ยผสมประเภทนี้รู้จักและเรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า ปุ๋ยคอมปาวด์ ส่วนการนำแม่ปุ๋ยมาผสมกันเฉย ๆ เพียงให้ได้สูตรตามที่ต้องการ หรืออาจมีการบดให้ละเอียดจนเข้ากันดียังคงเรียกว่าปุ๋ยผสมอยู่ตามเดิม ปัจจุบันมีการนำเอาแม่ปุ๋ยที่มีการปั้นเม็ดหรือมีเม็ดขนาดใกล้เคียงกันมาผสมกันให้ได้สูตรปุ๋ยตามที่ต้องการ แล้วนำไปใช้โดยตรงเรียกปุ๋ยชนิดนี้ว่า ปุ๋ยผสมคลุกเคล้า (bulk blending)
   ถึงแม้ว่าปุ๋ยเคมีจะมีธาตุอาหารพืชเข้มข้นกว่าปุ๋ยอินทรีย์ แต่ปุ๋ยเคมีไม่มีคุณสมบัติในการปรับปรุง                       โครงสร้างของดินให้โปร่งและร่วนซุยได้นอกจากนั้นปุ๋ยเคมีส่วนใหญ่มักจะไม่มีธาตุอาหารรอง และ  ธาตุอาหารเสริม ที่มีในปุ๋ยอินทรีย์ แต่อย่างไรก็ตามในตลาดปุ๋ยเคมีปัจจุบัน มีปุ๋ยเคมีหลายประเภทที่มีการผสมธาตุอาหารรองเข้าไป เพื่อลดปัญหานี้ลง
เราก็ได้ทราบแล้วว่า ปุ๋ย มีทั้งแบบอินทรีย์และแบบเคมีแล้ว เราก็ควรที่จะเลือกใช้ให้ได้อย่างถูกวิธี แต่ปุ๋ยนั้นจะมีคุณประโยชน์ และสารอาหารที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับการผสมผสาน หรือ เรียกว่า สูตร นั้นเอง
สูตรปุ๋ย คือ ตัวเลข 3 ตัวโดยมีขีดคั่นกลาง เป็นตัวเลขที่ใช้บอกสัดส่วนปริมาณธาตุอาหารหลัก 3 ชนิดของปุ๋ย ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โปแตสเซียม ตามลำดับ เช่น ปุ๋ยกระสอบละ 100 กิโลกรัม สูตร 46-0-0 จะมีส่วนผสมเนื้อธาตุไนโตรเจน 46 กิโลกรัม, ปุ๋ย 16-20-0 จะมีส่วนผสมของเนื้อธาตุไนโตรเจน 16 กิโลกรัมและเนื้อธาตุฟอสฟอรัส 20 กิโลกรัม, หรือ ปุ๋ย 15-15-15 จะมีส่วนผสมของเนื้อธาตุไนโตรเจน 15 กิโลกรัม เนื้อธาตุฟอสฟอรัส 15 กิโลกรัม และ เนื้อธาตุโปแตสเซียม 15 กิโลกรัม
ปุ๋ยบางชนิดจะมีธาตุอาหารรอง (หรือบางครั้งเรียก จุลธาตุ) อยู่ด้วยและมักจะเติมท้ายสูตรปุ๋ยด้วย "TE" ซึ่ง TE ย่อจาก Trace Element ที่หมายถึงจุลธาตุ ในภาษาอังกฤษ
2.3 ปุ๋ยเชิงเดี่ยว
ปุ๋ยเชิงเดี่ยว หรือ แม่ปุ๋ย คือ ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุปุ๋ยอยู่เพียงธาตุเดียว เช่น ยูเรีย มีไนโตรเจนเพียงธาตุเดียว หรือโปรตัสเซียมคลอไรด์ มีโปรตัสเซียมอยู่เพียงธาตุเดียว เป็นต้น[1]
2.4 ปุ๋ยเชิงผสม
ปุ๋ยเชิงผสม, ปุ๋ยผสม, หรือ ปุ๋ยเบ๊าค์ (ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษ Bulk Blending Fertilizer) จะเป็นการผสมของปุ๋ยเชิงเดี่ยว เพื่อให้ได้อัตราส่วนของธาตุอาหารตามที่ต้องการ ซึ่งเป็นการผสมทางกายภาพ เช่น คลุกส่วนผสมของปุ๋ยเชิงเดี่ยวแต่ละชนิดตามน้ำหนัก
2.5 ปุ๋ยเชิงประกอบ
ปุ๋ยเชิงประกอบ คือ ปุ๋ยเคมีที่ทำขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมีและมีธาตุอาหารหลักอย่างน้อยสองธาตุขึ้นไป ซึ่งการทำด้วยวิธีทางเคมีจะทำให้ธาตุอาหารในเนื้อปุ๋ยมีความสม่ำเสมอมากกว่าปุ๋ยเชิงผสม แต่โดยทั่วไปปุ๋ยเชิงประกอบก็จะมีราคาที่สูงกว่าด้วย จึงเหมาะกับพืชที่มีความอ่อนไหวต่อสารอาหาร
นอกจากนี้แล้ว ยังมีปุ๋ยชนิดหนึ่งที่บางคนอาจจะรู้จัก เคยไดยินได้ทราบ บางคนก็ไม่เคยได้ยิน ซึ่งปุ๋ยนี้สามารถทำเองได้โดยการที่เรานำ ผัก ผลไม้ หรือ เศษอาหารมาทำ นั้น ก็ คือ ปุ๋ยชีวภาพ
2.              ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยเป็นยุทธปัจจัยที่สำคัญ ในการผลิตพืช เนื่องจากปุ๋ยเป็นอาหารของพืช สามารถจำแนกปุ๋ยได้ 3 ประเภท คือ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยเคมี ในการเลือกใช้ปุ๋ยนั้น เกษตรกรควรศึกษา ข้อดี และข้อเสีย ของปุ๋ยแต่ละประเภท ก่อนเลือกใช้ปุ๋ยแต่ละชนิดปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การเลือกใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับชนิดและอายุของพืช ความชื้นในดิน คุณสมบัติของดิน และวิธีการใช้ปุ๋ยแบบผสมผสาน จะเป็นแนวทางที่สามารถช่วยให้เกษตรกรได้รับทั้งผลตอบแทนที่สูงสุด เสริมสร้างระบบการผลิตพืชแบบยั่งยืนและ
ความปลอดภัยให้กับสภาพแวดล้อม
         คำนิยามปุ๋ย
ความหมายโดยทั่วไป ปุ๋ย หมายถึง วัตถุหรือสารที่เราใส่ลงไปในดิน โดยมีความประสงค์ที่จะให้ธาตุอาหาร เพิ่มเติมแก่พืช ให้มีปริมาณที่เพียงพอ และสมดุลตามที่พืชต้องการใน พรบ.ปุ๋ย ปี 2518 ได้ให้คำจำกัดความปุ๋ยไว้ว่า หมายถึง สารอินทรีย์ หรือ อนินทรีย์ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือทำขึ้นก็ตาม สำหรับใช้เป็นธาตุอาหารแก่พืชได้ ไม่ว่าโดยวิธีใด หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดิน เพื่อบำรุงความเติบโตแก่พืช
    เราก็ได้ทราบถึง ความเป็นมาแล้ว ก็สามารถสรุปได้ว่า ปุ๋ยชีวภาพ หมายถึง ปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ที่สามารถสร้างธาตุอาหารหรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืช หรืออาจเรียกว่า ปุ๋ยจุลินทรีย์  ประโยชน์ ก็ คือ ช่วยทดแทนปุ๋ยเคมีในพืชตระกูลถั่ว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี ใส่เพียงครั้งเดียวตลอดชีวิตพืช ช่วยสร้างความสมดุลของธาตุอาหารพืช ใช้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย ราคาถูก
สำหรับคำว่า ปุ๋ยชีวภาพ เราก็คงจะได้ยินควบคู่กับคำว่า น้ำหมักชีวภาพ ที่ทำมาจาก เศษผักผลไม้ หรือ อาหารที่เหลือจากการบริโภค นำมาหมักกัน จนได้เป็นน้ำหมักชีวภาพ หรือ EM  เราทุกคนคงอยากจะทราบแล้วสิครับ ว่า EM คือ อะไร เราไปศึกษากันเลยครับ
  
 E.M. คืออะไร
       
 E.M. ย่อมาจากคำว่า Effective Micro-organisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพคิดค้นพบโดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรโอะ ฮิงะ (TEROU HIGA) แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น โดยใช้เทคนิคทางชีวภาพ รวบรวมเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ หมวดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ช่วยปรับปรุงสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น จุลินทรีย์หมวดสร้างสรรค์ที่มีใน EM ได้แก่ กลุ่มจุลินทรีย์แสง แลกโตบาซิรัส เพนนิซีเลี่ยม ไตรโคเดอมา ฟูเซเลียม สเตปโตไมซิส อโซเบคเตอ ไรโซเบียม ยีสต์รา รูปเส้นใย ฯลฯ    จุลินทรีย์ใน EM ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศ และมีพลัง แอนติออกซิเดชั่นซึ่งเป็นพลังสร้างสรรค์ของชีวิต ป้องกันมิให้มีการทำลายชีวภาพที่สำคัญของเซลล์ได้ป้องกันฤทธิ์ของสารพิษได้หลายชนิด รักษาสภาพธรรมชาติของเซลล์ ได้มิให้เสื่อมสภาพรักษาสุขภาพของคนและสัตว์ มิให้เป็นโรคหรือเจ็บป่วยได้ง่าย
ลักษณะโดยทั่วไปของ EM
              เป็นของเหลวสีน้ำตาลกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน (เกิดจากการทำงานของกลุ่มจุลินทรีย์ต่าง ๆ ใน E.M.) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีหรือยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ ได้ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืช และแมลงที่เป็นประโยชน์ ช่วยปรับสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ ที่ทุกคนสามารถนำไปเพาะขยายเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง
  เราก็ได้ทราบแล้วนะครับว่า E.M.  คืออะไร ดังนั้นเราก็มาศึกษาถึงการผลิตกันเลยครับ
ลักษณะการผลิต
           
 เพาะขยายจากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มากกว่า 80 ชนิด จากกลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
- กลุ่มจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติค
- กลุ่มจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน
- กลุ่มจุลินทรีย์เอคทีโนมัยซีทส์
- กลุ่มจุลินทรีย์ยีสต์
ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ได้จากธรรมชาตินำมาเพาะเลี้ยงและขยายให้จุลินทรีย์ขยายตัวด้วยปริมาณที่สมดุลกันด้วยเทคโนโลยีพิเศษ โดยใช้อาหารจากธรรมชาติ เช่น โปรตีน รำข้าว และสารประกอบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
แต่การทำน้ำหมักชีวภาพ หรือ E.M. แล้วมิใช่ว่าจะให้ประโยชน์แก่เราอย่างเดียว ยังมีประโยชน์อีกมากมายที่เป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม อาชีพ ต่างๆ เช่น
ประโยชน์ของจุลินทรีย์โดยทั่วไป
       ด้านการเกษตร
- ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในดินและน้ำ
- ช่วยแก้ปัญหาจากแมลงศัตรูพืชและโรคระบาดต่าง ๆ
- ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศผ่านได้ดี
- ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ เพื่อให้เป็นปุ่ญ (อาหาร) แก่อาหารพืชดูดซึมไปเป็นอาหารได้ดี ไม่ต้องใช้พลังงานมากเหมือนการให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
- ช่วยสร้างฮอร์โมนพืช พืชให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีขึ้น
- ช่วยให้ผลผลิตคงทน สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน มีประโยชน์ต่อการขนส่งไกล ๆ เช่น ส่งออกต่างประเทศ
- ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มปศุสัตว์ ไก่และสุกร ได้ภายในเวลา 24 ชม.
- ช่วยกำจัดน้ำเสียจากฟาร์มได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์
- ช่วยกำจัดแมลงวัน โดยการตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวันไม่ให้เข้าดักแด้เกิดเป็นตัวแมลงวัน
- ช่วยป้องกันอหิวาห์และโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์แทนยาปฏิชีวนะและอื่น ๆ ได้
- ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์แข็งแรงมีความต้านทานโรคสูง ให้ผลผลิตสูงอัตราการตายต่ำ


       ด้านการประมง
- ช่วยควบคุมคุณภาพในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำได้
- ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำเป็นอันตรายต่อกุ้ง ปลา กบ หรือสัตว์น้ำที่เลี้ยงได้
- ช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในปลา กบ จระเข้ ฯลฯ ได้
- ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ และทำให้เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมปุ๋ยหมักใช้พืชต่างๆ ได้อย่างดี
         ด้านสิ่งแวดล้อม
- ช่วยปรับสภาพเศษอาหารจากครัวเรือน ให้กลายเป็นปุ๋ยที่มีประโยชน์ต่อพืชผักได้
- ช่วยปรับสภาพน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือน โรงงาน โรงแรมหรือแหล่งน้ำเสีย
- ช่วยดับกลิ่นเหม็นจากกองขยะที่หมักหมมมานานได้
โดยมีการ
      การเก็บรักษาจุลินทรีย์
              สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน อย่างน้อย 6 เดือน ในอุณหภูมิห้องปกติ ไม่เกิน 46 – 50 C ต้องปิดฝาให้สนิท อย่าให้อากาศเข้าและอย่าเก็บไว้ในตู้เย็น ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท การนำ E.M. ไปขยายต่อควรใช้ภาชนะที่สะอาดและใช้ให้หมดภายในเวลาที่เหมาะสม
       การขยายจุลินทรีย์
            เมื่อต้องการใช้จุลินทรีย์ในงานเกษตรที่มีเนื้อที่มาก ๆ ควรใช้จุลินทรีย์ที่ได้ขยายปริมาณให้มากขึ้น เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุน โดยให้อาหารแก่จุลินทรีย์ ได้แก่ กากน้ำตาล น้ำอ้อย น้ำตาลทรายแดง นมแดง นมข้นหวาน หรือน้ำซาวข้าว เป็นต้น การขยายจุลินทรีย์ให้กับพืช
นอกจากนี้ ยังสามารถประยุกต์ใช้กับงานด้านอื่นๆได้ เช่น  งานด้านการเกษตร  E.M.ผสมน้ำ 1 : 1,000 – 2,000 ฉีดพ่นรดราดต้นไม้ สัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง
วัสดุ
             จุลินทรีย์ กากน้ำตาล อย่างละ 1 ลิตร/น้ำ 1,000 ลิตร
วิธีทำ
             ผสมกากน้ำตาลกับน้ำที่สะอาด คนให้ทั่วจนกากน้ำตาลละลายหมด น้ำ E.M. ผสมในน้ำคนจนเข้ากันทั่ว ปิดฝาให้สนิททิ้งไว้ 1 – 3 วัน ภาชนะที่ใช้ต้องสะอาดจะใช้ถังพลาสติกหรือตุ่ม
วิธีใช้
             เมื่อหมักไว้ตามกำหนดที่ต้องการแล้ว นำ E.M. ที่ขยายไปผสมกับน้ำละลายอีกในอัตรา EM1/น้ำ 2,000 ลิตร ฉีดพ่นรดต้นไม้ พืชผัก ไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับทุกชนิด ทุกวันหรือวันเว้นวันหรือสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง ใช้หญ้าแห้วหรือใบไม้แห้งหรือฟางคลุมดินบริเวณโคนต้นไม้ เพื่อรักษาความชื้นและ EM ย่อยสลายเป็นอาหารของพืช และเพื่อปรับสภาพของดินให้ดีขึ้นด้วย
ปุ๋ยชนิดอื่นๆ
นอกจากนั้นยังมีปุ๋ยชนิดอื่นๆอีกเช่น ปุ๋ยละลายช้า หรือ ปุ๋ยควบคุมการละลาย
 ปุ๋ยละลายช้า หรือ ปุ๋ยควบคุมการละลาย
ปุ๋ยละลายช้า หรือ ปุ๋ยควบคุมการละลาย คือ ปุ๋ยที่จะค่อยๆปล่อยสารอาหารออกมา
ปุ๋ยละลายช้ามีอยู่หลายชนิดด้วยกันรวมถึง ชนิดเคลือบพลาสติก (Plastic coated), ชนิดเคลือบสารละลายช้า (Slowly soluble coating), ชนิดยูเรียอัลดีไฮด์ (Urea aldehydes), ชนิดเคลือบกำมะถัน (Sulfur coated) เป็นต้น แต่ละชนิดมีคุณสมบัติแต่ต่างกัน เช่น ชนิดเคลือบพลาสติกอัตราการปล่อยสารอาหารจะขึ้นกับความหนาของพลาสติกที่เคลือบ ชนิดยูเรียอัลดีไฮด์อัตราการปล่อยสารอาหารจะสูงในตอนแรกๆและจะช้าลงตลอดจนหมดในเวลา 3 ปี ชนิดเคลือบกำมะถันจะมีระยะเวลาในการใช้อยู่ราวๆ 3-4 เดือน
ปุ๋ยละลายช้าช่วยทำให้พืชได้รับสารอาหารอย่างสม่ำเสมอ แบบค่อยเป็นค่อยไปลดความเสี่ยงจากภาวะที่เรียกว่า "จุกหรืออด" (feast or famine) ที่พืชอาจได้รับปุ๋ยมากเกินไปในช่วงแรกแล้วหลังจากสารอาหารถูกชะล้างไปหมด ก็จะขาดสารอาหารได้ นอกจากนั้น ปุ๋ยละลายช้า ยังมีข้อดีในแง่สิ่งแวดล้อมอีกด้วย เพราะมันยังช่วยลดปริมาณสารเคมีที่ถูกชะล้างจากแหล่งเพาะปลูกลงไปสู่แหล่ง น้ำธรรมชาติได้ด้วย
เราก็ได้ทราบแล้วนะครับว่า ปุ๋ยแต่ละแบบแต่ละชนิดมีความเป็นมาอย่างไร มีความสามารถในการทำจะทำให้ผลผลิตอย่างไร เพื่อที่จะได้ใช้ให้เกิดประโยชน์แกพืชของเรา แต่ปุ๋ยบางชนิดเราก็สามารถทำเองได้ อย่างเช่น น้ำหมักชีวภาพ หรือ E.M. ที่นำเศาผักผลไม้ อาหาร มาหมักกับ น้ำตาลทรายแดง และน้ำ ทิ้งไว้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ เราก็สามารถที่จะนำมารดน้ำหรือใส่แก่พืชผลของเรา ได้อย่างมีความปลอดภัย ดังนั้นเมื่อได้ศึกษาเรื่องนี้แล้ว ก็อย่าลืมนำไปปฎิบัติและเลือกใช้ให้เหมาะสมกันนะครับ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น